ตราสัญลักษณ์

logo

ข้อมูลทั่วไปของโรงเรียน

“มุ่งจัดการศึกษา พัฒนาทักษะชีวิต ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง”
๑. พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
๒. พัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
๓. พัฒนากระบวนการบริหารและการจัดการศึกษา
๔. พัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
๕. พัฒนาอาคารสถานที่ แหล่งเรียนรู้ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้
๖. ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
(School-based Management for Local Development : SBMLD)
๗. ส่งเสริมการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๑. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการสูงขึ้น
๒. นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่โรงเรียนกำหนด
๓. มีระบบการบริหารจัดการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล
๔. มีกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
๕. มีอาคารสถานที่ แหล่งเรียนรู้ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้
๖. มีการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (School-based Management for Local Development : SBMLD) ในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
๗. มีการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โรงเรียน อบจ.อุตรดิตถ์ เน้นทักษะ ชีวิต จิตอาสา เด่นอาชีพ ดนตรี และกีฬา เก่งวิชา มีคุณธรรม ประจำใจ
วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ (วิริเยนะ ทุกขมัจเจติ) แปลว่า "บุคคลจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร"
“มีน้ำใจ ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง”
อบจ. อุดมการณ์ ยิ่งใหญ่ อ. : เอาใจใส่ การเรียนรู้ สู่ทักษะ บ. : บริการ มีจิตสาธารณะ จ. : จริย มีคุณธรรม ประจำใจ
โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่๑ ถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โดยมีเขตพื้นที่บริการทุกอำเภอในจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยจัดแผนการเรียนทั้งระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน ๕ แผนการเรียน หรือ 5 G คือ G1 : Genius Science-Math = แผนการเรียนเตรียมแพทย์-วิศวะ G2 : Genius language = แผนภาษา (อังกฤษ-จีน) G3 : Gifted Musical and Dance = แผนการเรียนดนตรี-นาฏศิลป์ G4 : Gifted Sport = แผนการเรียนกีฬา G5 : Good Careers = แผนการเรียนอาชีพ
สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะเป็นชุมชนขนาดเล็ก มีประชากรประมาณ ๑๓,๐๐๐ คน อยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ประมาณ ๕ กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางถนนศรีชาววัง สายอุตรดิตถ์ – อำเภอพิชัย มีสถานที่สำคัญและแหล่งเรียนรู้ ที่ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียน ได้แก่
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังกะพี้
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะ
- ที่ทำการไปรษณีย์ตำบลวังกะพี้
- สถานีตำรวจภูธรวังกะพี้
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) สาขาวังกะพี้
- ตลาดสดวังกะพี้
- เทศบาลตำบลวังกะพี้
- เทศบาลตำบลบ้านเกาะ
- วัดท่าทอง (นิมมานโกวิท) (วัดหลวงปู่ทองดำ เกจิอาจารย์)
ผู้ปกครองส่วนใหญ่นับถือ ศาสนาพุทธ ประเพณีหรือศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป เช่น ประเพณีแห่เทียนวันเข้าพรรษา วันลอยกระทง วันสงกรานต์ การแห่เปรต การบวชนาคสามัคคี การทำบุญกลางบ้าน เป็นต้น ผู้ปกครองส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี เนื่องจากมีแม่น้ำน่านไหลผ่านหมู่บ้านต่างๆ ในตำบลวังกะพี้ ผู้ปกครองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำสวน และเลี้ยงปลาในกระชังขาย และผู้ปกครองบางส่วนมีอาชีพรับจ้างทั่วไป มีรายได้โดยเฉลี่ยของแต่ละครอบครัวปีละ ๓๐,๐๐๐ – ๔๐,๐๐๐ บาท สภาพสังคมของผู้ปกครองในชุมชน แต่ละครอบครัวจะมีสมาชิกเฉลี่ยครอบครัวละ ๓-๔ คน ผู้ปกครองนักเรียนบางส่วนมีอาชีพรับจ้าง ทำงานอยู่ต่างจังหวัด นักเรียนอาศัยอยู่กับปู่ ย่า ตา ยาย หรือญาติพี่น้องทำให้ขาดผู้ดูแลควบคุมพฤติกรรมของนักเรียน
ที่ตั้ง โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่เลขที่ ๒๒๖ หมู่ ๓ ถนนศรีชาววัง ตำบลวังกะพี้ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ รหัสไปรษณีย์ ๕๓๑๗๐ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ กรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย โทรศัพท์ ๐๕๕-๔๙๔-๒๖๑ โทรสาร ๐๕๕-๔๙๔-๒๖๑ E–Mail: uttpao2559@gmail.com เว็บไซต์: www.uttpao.ac.th มีเนื้อที่ ๔๐ ไร่ มีเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ จรด ถนน สาย วังกะพี้ – บ้านป่าถ่อน ทิศใต้ จรด แปลงปลูกอ้อยของโรงงานน้ำตาลทิพย์สุโขทัย (อุตรดิตถ์) ทิศตะวันออก จรด สถานีตำรวจภูธรวังกะพี้ ทิศตะวันตก จรด ทุ่งนา
โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ มีประวัติความเป็นมาโดยย่อ ดังนี้ เดิมชื่อ “ โรงเรียนน้ำตาลสงเคราะห์ ” เป็นโรงเรียนราษฎร์ สังกัดโรงงานน้ำตาลไทยอุตรดิตถ์ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ก่อสร้างโดยโรงงานน้ำตาลไทยอุตรดิตถ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถานศึกษาสำหรับลูกหลานของพนักงานโรงงานน้ำตาล รวมทั้งลูกหลานชาวไร่อ้อยและประชาชนทั่วไป เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้โอนไปสังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และเปลี่ยนชื่อเป็น “ โรงเรียนวังกะพี้พิทยาคม ” เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยมีนายอุทัย พักขาว เป็นผู้บริหารโรงเรียนคนแรก และ ในปีการศึกษา ๒๕๕๓ ได้เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ต่อมา ในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๘ นายชัยศิริ ศุภรักษ์จินดา นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ รับถ่ายโอนโรงเรียนวังกะพี้พิทยาคม ไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย และเปลี่ยนชื่อโรงเรียน เป็น “ โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ ” (น้ำตาลสงเคราะห์-วังกะพี้พิทยาคม) เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย (ม.๑-๖) ซึ่งระหว่างการรับถ่ายโอนมีผู้บริหาร ๑ คน มีข้าราชการครู ๙ คน และนักเรียน ๙๙ คน โดยมี ดร.กฤตย์ ไชยวงศ์ เป็นผู้บริหารโรงเรียนคนแรก ปัจจุบัน ในปีการศึกษา ๒๕63 โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย (ม.๑-๖) มีนักเรียนทั้งหมด 427 คน มีครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งหมด 62 คน หลังจากถ่ายโอนมาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ แล้ว โรงเรียนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการปรับปรุง อาคาร สถานที่ มีการก่อสร้างอาคารต่างๆ ดังนี้
- หอประชุม “นิมมานโกวิท”
- ห้อง Streamimg E-Classroom 3D
- ห้องสมุด
- ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
- ศูนย์สื่อ ICT
- ห้องดนตรี
- ห้องศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
- อาคารเรียน “ศุภรักษ์นุสรณ์” (อาคาร ๔ ชั้น ๑๒ ห้องเรียน)
- โรงจอดรถจักรยานยนต์นักเรียน

รูปภาพโรงเรียน

school1 school2 school3 school4 school5 school6 school7 school8